เคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก ราคาเป็นหมื่นๆ ก็ต้องรู้ข้อมูลเชิงลึกก่อนตัดสินทำ!!
กับคำถามที่ว่า : เคลือบแก้วกับเคลือบเซรามิก มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และเราจะเคลือบอะไรดี ?
ทุกวันนี้เราซื้อสินค้ายังมี คู่มือแนบมาด้วยเสมอ วันนี้เราจะเอาคู่มือ หรือ Guideline ที่บอกทุกอย่างที่เป็นเคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก ให้ท่านได้รู้และช่วยในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้รถ เรามาเริ่มรู้จักกับคำว่า เคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก กันเลย!! และเรามาไขข้อสงสัยกันว่าว่า การเคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก แตกต่างกันอย่างไร ?
เคลือบแก้ว (Glass Coating) คืออะไร?
เคลือบแก้ว (Glass Coating) หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมา หรืออาจจะเคยอ่านศึกษาข้อมูลจาก internet มาแล้ว และในบทความนี้เราจะพาทุกท่านเจาะลึกเข้าไปอีก ว่าก่อนจะมาเป็นเคลือบแก้วที่เคลือบรถสวยๆกัน มันเป็นยังไง
เริ่มจากคำว่า การเคลือบ หรือ Coating หมายถึง การฉาบผิว การห่อหุ้ม
แก้ว คือ เป็นวัสดุที่เกิดจากการหลอมส่วนผสมของสารอนินทรีย์ที่อุณหภูมิสูงเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบต่างๆ เกิดการหลอมจนเป็นน้ำแก้วที่อยู่ในสถานะของเหลวจะถูกนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปและทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วเป็นผลให้อะตอมหรือโมเลกุลของแก้วไม่มีเวลาจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบทำให้โครงสร้าง
ตัวอย่าง โครงสร้างพันธะ ของ Quartz
ซึ่งแก้วก็มีการพัฒนาเรื่อยๆมา อาทิ แก้วเซรามิคซึ่งโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide หรือชื่อเล่นของมันก็ที่เรารู้จักกันก็ “ซิลิก้า”) ซึ่งก็อาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ ( quartz ) หรือในรูป polycrystalline ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบกว่าและโครงสร้างโมเลกุลจับตัวกันแน่นกว่าทำให้มีความแข็งแรงและยึดเกาะที่สูงกว่าเป็นผลให้แก้วเซรามิค มีความคงทนมากกว่าแก้วทั่วๆไปนั่นเอง ซึ่งบางครั้งในการผลิตแก้วน้ำ, แก้วไวท์, แก้วชนิดต่างๆ ให้มีคุณภาพที่แตกต่างหรือสูงขึ้น ในกระบวนการผลิตอาจมีการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น เติมตะกั่ว (จากวัตถุดิบเช่น ลิธาจ;Litharge) และกลายเป็น PbO เพื่อให้แก้วหนักขึ้น และได้เนื้อแก้วยืดหยุ่นเหนียวและแวววาว ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า “แก้วคริสตัล”
หลังจากได้รู้จักกับความหมายของคำว่า เคลือบ และคำว่า แก้ว แล้วเราคงพอสรุปได้ว่า เคลือบแก้ว นั้นจริงๆ แล้วก็คือ การนำสารเคมีที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแก้วอย่าง ซิลิก้า มาใช้เคลือบผิวรถบนชั้นแลคเกอร์ หรือ Clearcoat นั่นเองเพื่อให้ได้คุณสมบัติความแข็งของ Quartz รวมถึงทนเคมีทนความร้อน และส่วนพวกเคลือบคริสตัล ทั้งหลายก็อาศัยผสมสารต่างๆ ( เช่น ตะกั่ว, ลิธาจ ) เหล่านี้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น Crystal coating นั่นเอง ซึ่งเหล่านี้ก็แล้วแต่ใครจะเอามาทำการตลาดในรูปแบบไหนให้น่าสนใจ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน ( พักคำว่า Glass Coating ไว้เท่านี้ก่อนแล้วเดี๋ยวจะมาเล่าต่อว่า ดียังไง ต่างจากเคลือบเซรามิคอย่างไร )
เคลือบเซรามิก (Ceramic Coating) คืออะไร?
เคลือบเซรามิก บางท่านอาจจะยังงงกับเคลือบแก้วอยู่เลย หรือหลายๆท่านคงสงสัย ว่า เคลือบเซรามิก คืออะไร มีเคลือบแก้วแล้ว ทำไมต้องมีเคลือบเซรามิก มันจะดีกว่า หรือเจ๋งกว่า หรือแตกต่าง กับเคลือบแก้ว อย่างไร?
เบื้องต้นเราคงต้องมารู้จักกับนิยามของคำว่า เซรามิก กันก่อน!!! เซรามิก คือ วัสดุอนินทรีย์ ( Inorganic Materials ) ซึ่งประกอบด้วยธาตุโลหะและอโลหะมารวมตัวกัน และมีการจับตัวกันด้วยพันธะไอออนิก/โควาเลนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติ ความแข็งสูง จุดหลอมเหลวสูง และมักนำไฟฟ้าได้ไม่ดี หรือบางครั้งไม่นำไฟฟ้า
ประเภทของเซรามิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.เซรามิกดั้งเดิม ( Traditional Ceramics ) เช่น ดินเหนียว (Clay), ซิลิก้า ( SiO2), เฟล์ดสปาร์ (Feldspar-แร่ฟันม้า)
2.เซรามิกทางวิศวกรรม ( Engineering Ceramics/Advance Ceramics ) เช่น Al2O3 (อลูมิเนียมอ๊อกไซด์), SiC ( ซิลิกอน คาร์บายด์), Si3N4 (ซิลิกอนไนตริก)
ซึ่งคุณสมบัติของเซรามิกชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม เซรามิคดั้งเดิม หรือเซรามิกทางวิศวกรรม ก็ล้วนมีคุณสมบัติเฉพาะ อาทิ เช่น
- Silicon nitride(Si3N4): สมบัติดีทั้งด้านการทน ความร้อน ความแข็งและความแกร่ง ใช้ทํา อุปกรณ์ตัด ลูกกล้ิงแบบลดแรงเสียดทาน บอลแบริ่ง อุปกรณ์หัวจุด ชิ้นส่วนเครื่องยนต์
- Silica (SiO2) : ทนต่อความร้อนได้ปานกลาง แข็ง เปราะ ทนต่อการสึกกร่อน ทนต่อ Creep ได้ดี
- Silicon Carbide : ทนความร้อนสูงมากความแข็งสูง เฉื่อยต่อ ปฏิกิริยาเคมีและทนความคืบสูงมักใช้ในงานเคมี หัวฉีด งานทนต่อการสึก กร่อน งานทนต่อความร้อน (และความคืบ) เช่น เครื่องยนต์ที่รับแรงเสียดทานความร้อนสูง, ยานอวกาศ, หรือแม้กระทั่งเพชรสังเคราะห์ ( โมซาไนท์ )
ตารางทดสอบความแข็งตามแบบ Approximate Knoop Hardness
ซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า เซรามิก นั้นจัดว่าเป็น กลุ่มๆ หนึ่งทางเคมีที่มีสมาชิกในกลุ่มค่อนข้างกว้าง ดังที่เราจะเห็นว่าในชีวิตประจำวันเจอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเซรามิกเต็มไปหมด ไม่ว่า จะเป็น จานเซรามิก กระถางต้นไม้เซรามิก ( ผลิตจากดินเหนียว Clay ), แก้วเซรามิก ( SiO2 ) เป็นต้น
คราวนี้หลังจากเรารู้จักกับคำว่า เซรามิก คืออะไรกันแล้วเมื่อลองนำความหมายมานิยามกับคำว่า เคลือบเซรามิก ก็คงจะหมายความได้ว่า การนำสารประกอบในกลุ่มเซรามิก ที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลที่แข็งแรง ( Free of Carbon oxygen หรือ Carbon hydrogen Linkages) มาเป็นส่วนผสมในการเคลือบสีรถบนชั้นแลคเกอร์เพื่อให้ชั้นเคลือบผิวสีรถมีคุณสมบัติของสารประกอบในกลุ่มเซรามิกที่ใช้ ซึ่งต้องบอกว่าในสารประกอบที่ผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ เลือกใช้ก็มีปริมาณและส่วนผสมของสารตั้งต้นหลักที่แตกต่างกัน ซึ่งจะแปรผันกับคุณสมบัติและคุณภาพของเคลือบเซรามิกที่ใช้ด้วย เช่น บางยี่ห้อใช้ SiO2 , บางยี่ห้อใช้ SiC (เท่าที่เห็นในตลาดตอนนี้ก็แบรนด์ Opti-Coat USA ) ถึงจะเป็นเคลือบเซรามิกเหมือนกันแต่ก็จะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน อาทิ ความแข็งที่แตกต่างกัน การทนเคมี ทนรอยขีดข่วน ทนความร้อนก็จะต่างกันออกไปนั่นเอง
สุดท้ายนี้ หากมองในมุมผู้บริโภคก็ไม่เห็นความสำคัญแต่อย่างใดที่จะต้องสนใจกับแค่คำเรียก หรือคำกล่าวอ้างของผลิตภัณฑ์ที่จะใช้เคลือบหรือ Coating บนรถของตน แต่ควรจะศึกษาว่า น้ำยาที่คาร์แคร์จะลงบนรถเรานั้น มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน คนอื่นเขาใช้กันรึยัง มีรีวิว จากผู้ใช้หรือมืออาชีพ จากทั่วโลกหรือไม่ และจากรีวิวเหล่านั้นอายุการใช้งาน ความสวยงาม ดั่งที่ตนเองหวังไว้หรือไม่ และที่สำคัญเลยก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เคลือบแก้ว (Glass Coating : Sio2) หรือเคลือบเซรามิก (Ceramic Coating : SiC) มันตอบโจทย์ความต้องการของท่านมากน้อยแค่ไหน ทำแล้วเราต้องรู้สึกว่า เราดูแลรถได้ง่ายขึ้น ถ้าทุกอย่างมันใช่ก็จัดเลยไม่ต้องรีรอ ยังไงการป้องกันก็ย่อมดีกว่าการแก้ไขแน่นอน!!!
บทความโดย : Torpong Opti-Coat Thailand
Referent : ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Dr.David Ghudussi จาก Optimum polymer Technologies USA ,ขอบคุณข้อมูลภาควิชา Engineering Materials ( วัสดุในงานวิศวกรรม ), ขอบคุณเพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์จาก คณะวิทยาฯ ศิลปากร, ขอบคุณร้านคาร์แคร์ Wash A Matter,ขอบคุณเว็บไซร์ http://www.twi-global.com/technical-knowledge/faqs/material-faqs/faq-how-are-glass-ceramics-and-glass-ceramics-defined, และขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลมากมายจาก google จำเว็บไม่ได้จริงๆ
Leave A Comment